ช่วงนี้เรามักจะได้ยินข่าวสารเกี่ยวกับ “ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” อยู่เนื่องๆ สมาคม ThaiBIO ค้นหาข้อมูลเนื้อหาของศาสตร์พระราชาที่มีหน่วยงานหลายหน่วยงานได้รวบรวมไว้และนำประเด็นร่วมสมัยนี้มาร่วมแบ่งปัน ณ ที่นี้…..
✍️หนึ่งในบทความที่พูดถึงศาสตร์พระราชาจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน …ที่เขียนได้ชัดเจนเข้าใจได้ง่าย ดังมีรายละเอียด (Credit อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์,คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์: link….)
1. จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะหลักการนำทาง ประกอบด้วยสามห่วง สองฐาน คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตน มีฐานความรู้ และ ฐานคุณธรรม
2. วิธีการของศาสตร์พระราชาคือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยต้องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คน วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
?เข้าใจ หมายถึง การใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว การใช้และแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิเคราะห์และการวิจัย การทดลองใช้จนได้ผลจริงก่อน
?เข้าถึง หมายถึงการระเบิดจากข้างใน เข้าใจกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา และสร้างปัญญาสังคม
?พัฒนา หมายถึง การพัฒนาที่ประชาชนเริ่มต้นด้วยตนเอง พึ่งพาตนเองได้ และมีต้นแบบในการเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนได้เรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้
3. การประยุกต์แห่งศาสตร์พระราชา ต้องทำให้ด้วยความรัก ความปรารถนาและด้วยใจ ต้องประยุกต์ใช้อย่างยั่งยืน ไม่ยึดติดตำรา ปรับตามบุคคล สภาพพื้นที่และสถานการณ์ ตัวอย่างของการประยุกต์แห่งศาสตร์พระราชาได้แก่โครงการพระราชดำริกว่า 4000 โครงการ เกษตรทฤษฎีใหม่ แกล้งดิน แก้มลิง ฝนหลวง กังหันน้ำชัยพัฒนา หญ้าแฝก เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สถานีวิทยุ อส ถนนวงแหวน ถนนรัชดาภิเษก ทางด่วนลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี สะพานพระราม 8 ฟอนท์ไทยจิตรลดา และเสาอากาศสุธี เป็นต้น
4. ผลลัพธ์ ของศาสตร์พระราชา คือแผ่นดินโดยธรรมและประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามตามพระปฐมบรมราชโองการ พออยู่พอกิน และ รู้รักสามัคคี อันเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
????????????????????
นอกจากนี้ เมื่อ วันที่ 28 ตุลาคม 2559 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน” ในการพัฒนาเศรษฐกิจสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 รวมทั้งการพัฒนาประเทศเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมโลกทั้งในระดับภูมิภาค และ ในระดับโลก เพื่อน้อมนำพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชที่ให้ “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ของการพัฒนา มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ ประชาชนมีส่วนร่วม และได้ประโยชน์จากการพัฒนาอย่างแท้จริง ให้มีความ อยู่ดี กินดี และในรายการ “ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ของวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2559 เกี่ยวกับศาสตร์พระราชาที่อยากนำมาแชร์อีกครั้ง ….
รัฐบาล โดย ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เชื่อมโยง “ศาสตร์พระราชา”ในเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้ (SEP – Sufficiency Economy Philosophy) กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs – Sustainable Development Goals) ประสบความสำเร็จ ในการสร้างความตระหนักและการยอมรับในเวทีระหว่างประเทศในระดับหนึ่ง ยกตัวอย่าง ได้แก่
(1) ศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง เพื่อแก้ปัญหาการขาดน้ำกินและน้ำใช้, การขาดที่ดินทำกิน ซึ่งมีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย
(2) ธนาคารอาหารเป็นกิจกรรมจากกองทุนอาหารกลางวันแบบยั่งยืน ให้เด็กนักเรียนทุกคนนำไปลงทุน เพื่อประกอบอาชีพทำการเกษตรและปศุสัตว์ขนาดเล็ก
(3) โรงเรียนพระดาบส จัดให้มีการสอนวิชาชีพ หลักสูตร 1 ปี มุ่งให้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง เสริมด้วยทักษะชีวิต ให้สามารถดำรงตน ได้อย่างเหมาะสม
(4) กังหันชัยพัฒนา เป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ ลดกลิ่น น้ำไม่เน่าเสีย เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำได้
(5) บริษัท ประชารัฐ รักสามัคคี จำกัด ดำเนินการตามรูปแบบ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” บนกลไก “ประชารัฐ”ที่ไม่มุ่งเน้นผลกำไรจากการประกอบการ. (อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/622463 และติดตามตอนต่างๆ ในรายการศาสตร์พระราชาได้จาก http://nwnt.prd.go.th/CenterWeb/News/SpecialNewsList?NT22_TmpID=TM59102102)
⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️⛵️
และศาสตร์พระราชากับงานด้าน Global sustainable ของ องค์การอนามัยโลก หรือ UN นี้ที่มูลนิธิมั่นพัฒนาได้นำมาเสนอไว้ที่เวปไซต์ http://www.tsdf.or.th/th/philosophy/ ได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ได้นำบางช่วงบางตอนมาให้ได้อ่านไว้ ณ ที่นี้
พ.ศ. 2559 – 2573
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ขององค์กรสหประชาชาติ
Sustainable Development
การพัฒนาที่ยั่งยืน จะเกิดขึ้นได้หากเป็าหมายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ระบบนิเวศและธรรมชาติ สอดคล้อง และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยไม่ทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อระบบทางธรรมชาติที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ และต้องคำนึงถึงความอย่รอดของคนในรุ้นนี้และรุ่นต่อๆไปในคราวเดียวกัน
เรื่องของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนได้ถูกหยิบยกขึ้นหารือในเวทีต่างๆทั้งระดับประเทศและระดับสากล โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นหนึ่งในวาระสำคัญของ “เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ” พ.ศ.2543-2550 หรือ “Millennium Development Goals – MDGs 2000-2015” ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) เดือนกันยายน 2558 ที่ประชุมจะได้มีการพิจารณาเพื่อประกาศใช้ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2558-2573” หรือ “Sustainable Development Goals -SDGs 2015-2030” เพื่อใช้เป็นหลักและกรอบการดำเนินงานสำหรับอีก 15 ปีข้างหน้า
ประกอบด้วยเป้าหมายการพัฒนาด้านต่างๆทั้งหมด 17 ข้อ ดังนี้
1. ความยากจน
ยุติความยากจนทุกรูปแบบทั่วโลก
2. ความหิวโหย
ยุติภาวะขาดแคลนอาหาร มุ่งสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร (Food security) พัฒนาคุณภาพสารอาหารและ ส่งเสริมการทำการเกษตรที่ยั่งยืน
3. สุขภาวะ
สร้างสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในทุกช่วงอายุ
4. การศึกษา
ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาตลอดชีวิตแก่ทุกคน
5. ความเท่าเทียมทางเพศ
สร้างความเท่าเทียมทางเพศ และให้โอกาสที่เท่าเทียมกับผู้หญิง
6. น้ำและการสุขาภิบาล
พัฒนาคุณภาพน้ำ และโอกาสในการใช้น้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคสำหรับทุกคน
7. พลังงาน
เพิ่มโอกาสในการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ทันสมัย น่าไว้วางใจ ยั่งยืนและเพียงพอต่อการใช้งานของทุกคน
8. เศรษฐกิจและการจ้างงาน
ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุมสร้างอาชีพที่ครอบคลุม มีประสิทธิภาพและเหมาะสมแก่ทุกคน
9. โครงสร้างพื้นฐานและการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่น ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และ กระตุ้นการสร้างนวัตกรรม
10. ความเหลื่อมล้ำ
ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและภายนอกประเทศ
11. เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
สร้างเมืองที่ผู้คนสามารถตั้งถิ่นฐานได้อย่างครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่น และยั่งยืน
12. แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
ส่งเสริมแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
13. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
เตรียมพร้อมในการตั้งรับความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศและผลกระทบที่จะตามมาอย่างเร่งด่วน
14. ทรัพยากรทางทะเล
อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรทางทะเลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
15. ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ระบบนิเวศภาคพื้นดินอย่างยั่งยืน มีการบริหารจัดการป่าไม้ ยับยั้งกระบวนการตัดไม้ทำลายป่า ยับยั้งและฟื้นฟูการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
16. สังคมและความยุติธรรม
สร้างสังคมสงบสุขอย่างทั่วถึงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในทุกชนชั้น พลเมืองทุกคนสามารถได้รับความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม และสร้างสถาบันที่ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพโปร่งใส และครอบคลุมทุกระดับชั้น
17. ความร่วมมือและการปฏิบัติให้เกิดผล
สร้างความเข้มแข็งให้วิธีการดำเนินงานร่วมกัน และพัฒนาความสัมพันธ์อันดีในกลุ่มพันธมิตรทั่วโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน