สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) เข้าร่วมงาน “ครบรอบ 20 ปี สถาบันนวัตกรรม ปตท.” ในวันที่ 28 มีนาคม 2562 ณ สถาบันนวัตกรรม ปตท. อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดยมี คุณชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และ นางสาวอรุณรัตน์ วุฒิมงคลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้บริหาร กลุ่ม ปตท. ผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดร.ยุทธนา สุวรรณ กรรมการสมาคมฯ ในนามผู้แทน จาก บริษัท ปตท. ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการ สมาคมฯ นักวิจัย และพนักงาน เข้าร่วมงาน
“สถาบันนวัตกรรม ปตท” หรือ เดิมชื่อสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2540 ด้วยการลงทุนกว่า 1,600 ล้านบาท ในการสร้างอาคารปฏิบัติการวิจัย พร้อมเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค “มีภารกิจหลักในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมี รวมถึงสนับสนุนการดำเนินงานของ กลุ่ม ปตท. และตอบสนองนโยบายด้านพลังงานของรัฐ พร้อมทั้งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันโดยคำนึงถึงคุณภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม”
ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา สถาบันมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงและหล่อลื่นของ ปตท. ตลอดจนงานวิจัยและพัฒนาด้านพอลิเมอร์ กระบวนการผลิตปิโตรเลียม ปิโตรเคมี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและขนส่ง งานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม การจัดระบบการบริหารทรัพย์สินทางปัญญา และการจัดเก็บองค์ความรู้รวม…..จวบจนปัจจุบันในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว สถาบันนวัตกรรมยกระดับงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี กระบวนการในการพัฒนาและการสร้างนวัตกรรม มุ่งสู่การเปิดรับเทคโนโลยีจากภายนอกมาร่วมสร้างนวัตกรรม (Open Innovation) มากขึ้น มีการดำเนินงานในการสร้างพันธมิตรในการดำเนินงานวิจัยร่วมกัน มีพื้นที่ ของ Innovation hub เพื่อให้เกิดนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์โดยเร็ว สร้างความยั่งยืนของกลุ่ม ปตท. และประเทศชาติ จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก “ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท.” เป็น “สถาบันนวัตกรรม” ในปี 2561
(รายละเอียดข่าวเปิดงานเพิ่มเติม.https://siamrath.co.th/n/71838)
และภายในงานมีการจัดแสดงเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจมากมาย สิ่งหนึ่งที่สมาคมฯขอยกเป็นต้วอย่างงานวิจัยที่สร้างนวัตกรรมชีวภาพ คือ ชิ้นงานจาก bioplastic ที่นำมาเป็นของที่ละลึกในงาน ซึ่งเป็น biodegradable แทน conventional plastic โดยเห็นว่า งานชิ้นนี้ได้ตอบโจทย์นโยบายต่างๆ เช่น ทิศทางในระดับโลกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ทิศทางประเทศไทยในการสร้าง Green economy และ ทิศทางขององค์กร คือการสร้างผลิตภัณฑ์จากของเหลือทิ้งซึ่งถือเป็น Bio refinery กลายๆ
โดยพลาสติกชนิดนี้ใช้ กากของเหลือจากเมล็ดกาแฟ ที่ได้จากบริษัทในเครือกลับมาตอบโจทย์ ในระดับต่างๆ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ ซึ่งงานวิจัย- Bio SSCMB (Bio Silver Skin of Coffee Masterbatch) หรือ bioplastic compound จากเมล็ดกาแฟนี้ ได้รับ 2 รางวัล “รางวัลเหรียญทอง Innovation Award 2016 สาขา RIT ” และ “เหรียญรางวัลพิเศษจากสมาพันธ์นักประดิษฐ์แห่งโปแลนด์” จากเวทีประกวดผลงานระดับนานาชาติ ในงาน 45th International Exhibition of Inventions Geneva 2017
ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 2 เมษายน 2560….. การันตีความสำเร็จมาแล้ว (รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.facebook.com/1666001887053568/posts/1885920478395040?sfns=mo)