กิจกรรม ThaiBIO Be Your Guest ครั้งที่ 2/2562
วันที่ 25 มิถุนายน 2562 ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมฯ คุณวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง ประชาสัมพันธ์สมาคมฯ ในฐานะประธานกลุ่ม เทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรม พร้อมด้วย ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมฯ นำทีมสมาชิกคณะเยี่ยมชมจากภาคส่วนเอกชนนักลงทุน ผู้ประกอบการสายไบโอเทคฯ เข้าเยี่ยมชมสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ณ วังจันทร์วัลเลย์ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร. พิมพ์ใจ ใจเย็นและ คณาจารย์ นำเสนอผลงานวิจัยและเปิดบ้านสำนักวิชา..Biomolecular science and engineering (BSE).. ให้คณะผู้ประกอบการได้เข้าชม
โดย ศ.ดร.พิมพ์ใจ เล่าว่า …..
งานวิจัยของ BSE เน้น ชีววิทยาสังเคราะห์ ทำให้ cell ทำงานอย่างที่เราต้องการ โดยปัจจุบันมี อาจารย์ประจำ 5 ท่าน และมีอาจารย์พิเศษซึ่งเป็น Professor จากสถาบันต่างๆ ทั่วโลก สำหรับด้านงานวิจัยส่วนตัวอาจารย์มีความเชี่ยวชาญเรื่อง Emzyme structure, function and application งานวิจัยปัจจุบันเน้นการเปลี่ยนของเสีย หรือขยะมาสร้างสารมูลค่า, biorefinery และ green management ท่านต่อมา
Prof. Albert ซึ่งเป็น analytical chemistry งานวิจัยปัจจุบันคือการทำเครื่อง electrical detection, ผสมผสานความรู้ Biochemistry, immunology, biomolecule, biomarker, sensor และ robotic เพื่อสร้างเครื่องมือ high thougput
การหาวิธีตรวจวิเคราะห์สารต่างๆ เอนไซม์ สารสำหรับการตรวจโรค หรือ ตัวยา ในการทำงานที่มีจำนวนมาก หนักๆ เพื่อช่วยลดเวลา กำลังพล และค่าใช้จ่ายได้ ท่านต่อมา ดร. ธัญพร นัก biochemistry และ bio molecular งานวิจัยที่กำลังดำเนินการคือการผลิต biofuel ที่ได้ carbon atom สูงๆ แทนปิโตรเลียมท่านต่อมา ดร.ชัยสิทธิ์ นัก biochemistry และ protein engineer งานวิจัยที่กำลังดำเนินการคือ เอนไซม์ย่อยสลายพลาสติก ท่านสุดท้าย ศ.ดร.วิภา นัก biochemistry มีความเชี่ยวชาญด้าน Protien structure function และ application งานวิจัยที่กำลังดำเนินการคือเปลี่ยนโครงสร้างสาร สร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น เปลี่ยน Chitin เป็น glucosamine หรือการเปลี่ยนโครงสร้างน้ำตาลราคาถูกเป็นสารราคาสูง
ในการเดินเยี่ยมชมสถานที่และเครื่องมือ….สถานที่ประชุม อาคารเรียนเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจผู้เข้าชมทุกท่าน รวมถึงตื่นเต้นกับเครื่องมือระดับโลก เข่น Station: High throughput and robotic emzyme engineering system, Transmission Electron Microscope, Nucler Magnetic Resonance Spectrometer และ Liquid handering ระดับ นาโนลิตรช่วยทำ Protein crystallization ในเวลาอันรวดเร็วและประยัด sample ทั้งหมดเหล่านี้ช่วยทำให้การค้นคว้าหาเชื้อจากธรรมชาติ จากต้องใช้เวลาหลายปี มาผลิต super enzyme สามารถทำได้ในช่วงเวลาเพียง 6-7 เดือน
งานที่ลงชุมชนไปแล้ว (implement) เช่น โครงการ Zero waste ที่ VISTEC ร่วมกับ ธนาคารกสิกร ได้นำเชื้อที่screen ได้จาก VISTEC มาหาคุณสมบัติเปลี่ยนขยะ เป็น biogas ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 70% มากกว่าเชื้อชนิดอื่นที่เคยมีรายงานมา และ ได้ปุ๋ยแตกยอดที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยม มีการขยายขนาดการผลิตในโรงเรือน และทดสอบระบบการทำงานโดยได้ลงสนามใช้งานจริง กับชุมชน ซึ่งทำให้ชาวบ้านมีการแยกขยะกลับมาใช้งานและได้รายได้กลับมาด้วย ทำให้เกิดการหมุนเวียนและสร้างความยั่งยืนให้โครงการได้
ทั้งนี้ผู้สนใจร่วมทำวิจัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อที่ VISTEC ได้โดยตรง หรือที่ Sorayot.c@vistec.ac.th