วันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ตัวแทนคณะกรรมการและสมาชิกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) นำโดย ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ จากบริษัท คีนน์ ในฐานะนายกสมาคม, น.สพ.รุจเวทย์ ทหารแกล้ว จากบริษัท เบธาโกร, คุณวิทูรย์ วงศ์หาญกุล จากบริษัท ไบโอเนท เอเชีย, คุณมารุต บูรณะเศรษฐกุล จากบริษัท ไบโอเจเนเทค, คุณวงศ์วริศ พาณิชธนานนท์ จากบริษัท เกร็ทเทอร์ฟาร์มา พร้อม ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมฯ และ ผู้เกี่ยวข้อง เข้าพบ รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารจัดการทุน (PMU) ด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข. หรือ PMUC) เพื่อ
สมาคมฯ รวบรวมข้อมูลของหน่วยงานบริหารจัดการทุน สรุปประเด็นเนื้อหาจากการเข้าหารือที่อาจมีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ มาแบ่งปัน
PMU / Program Management Unit เป็นกลไกสำคัญในการบริหารงบประมาณวิจัยด้าน ววน. ของประเทศ โดย PMU แบ่งงานบริหารจัดการทุนเป็นหน่วยย่อยไปตามขอบข่ายหน้าที่เพื่อความครอบคลุมการให้ทุนงานวิจัยในสาขาความรู้/อุตสาหกรรมต่างๆ และระยะ TRL ของงานวิจัยเป็น 7 หน่วยงานบริหารจัดการ
1) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
2) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
3) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร องค์การมหาชน (สวก.)
4) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส)
อีก 3 หน่วยบริหารและจัดการทุนที่ดำเนินการภายใต้ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประกอบด้วย
5) PMU “A” มาจาก Area – based หรือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
6) PMU “B” มาจาก Brain Power, manpower หรือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และสร้างนวัตกรรม (บพค.)
7) PMU “C” มาจาก Competitiveness หรือ หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ที่สมาคมฯ ได้นำทีมเข้าพบ
หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) หรือ PMUC เป็นหน่วยขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศผ่านการพิจารณาให้ทุนวิจัยต่อองค์กรใดๆ รวมถึงภาคเอกชน มีหน้าที่ในการพิจารณาการให้ทุนวิจัยต่องานวิจัยที่มีผลสำเร็จในขั้นการทดลองมาแล้ว (proofed of concept) เทียบเท่ากับมี TRL 4-8 หรือมี prototype ที่ต้องการวิจัยเพื่อขยายขนาดการผลิต หรือต้องการทุนวิจัยในขั้น Clinical trial ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงหรือสามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ ซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ในอุตสาหกรรมการเกษคร, อาหาร functional food, พลังงาน, ยานยนต์ EV, Digital และ IT สำหรับ BCG และการแพทย์
หลักการทำงานของ PMU และ PMUC ต้องอาศัยพลังจตุรภาคีเพื่อหางานวิจัยตอบโจทย์ประเทศชาติอย่างแท้จริง สร้างความเข้มแข็งจากภายใน และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศได้ โดยผ่านการทำงาน ในรูปแบบต่างๆ เช่น PPP IDE, global partnership
แม้ในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนเงินต่อทุนที่ยังไม่สูงมากนัก ยังไม่ครอบคลุมเรื่องขนาดของทุนที่ตอบโจทย์งานวิจัยในระดับ up scaling ในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง หรือ อุตสาหกรรมการแพทย์ แต่ทางสมาคมฯ มุ่งหวังและจะร่วมพลังจตุรภาคีให้มีนโยบายที่ครอบคลุมการวิจัยพัฒนาสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเป็นฐานการผลิตได้ในอนาคต