วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๕.๓๐ น. ดร.พิมพ์นภา ณีศะนันท์ ผู้จัดการสมาคมฯ เป็นตัวแทนสมาคมฯ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การกำหนดทิศทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (Biobased Industry)”
โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินการศึกษาสถานภาพการวิจัย และทิศทางพัฒนาของประเทศ เพื่อจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินงาน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลมีมติเห็นชอบในหลักการสำหรับข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรมในเรื่อง “๑๐ อุตสาหกรรมเป้าหมาย : กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต” เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เพื่อเป็นมาตรการระยะยาวที่จะกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (NEW GROWTH ENGINE) ของประเทศไทย ๔.๐ ซึ่งถูกคาดหวังให้เป็นโมเดลขับเคลื่อนประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ที่ได้ให้ความสาคัญกับการสร้างความเข้มแข็งในการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมของ และสถาบันวิจัย
โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมาภาครัฐได้มีความพยายามปรับปรุงกฎหมายและแก้ไขระบบหรือกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นสาหรับการวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ และการสร้างระบบนิเวศ (ECOSYSTEM) ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดนวัตกรรมในประเทศ สำหรับการพัฒนานักวิจัยและบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในทุกระดับ รวมทั้งการปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณการวิจัยและการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อสังคม ชุมชน และความมัรนคง แต่ในสภาวะปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วกระทบไปทั่ว สร้างการแข่งขันที่รุนแรงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ประเทศไทยต้องมีการปรับตัวเพื่อ ส่งเสริมภาคธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่แทนที่ของที่มีอยู่เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไป รวมถึงการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ในด้านลดต้นทุนการผลิตและระยะเวลาในการผลิต, เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตลอดจน การพัฒนาการออกแบบและการดำเนินการด้านวิศวกรรม เพื่ออนุรักษ์พลังงานและความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ในขณะเดียวกัน
การวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเพื่อเชื่อมโยงแผนการวิจัยและพัฒนาเข้ากับการวิเคราะห์แนวโน้มอุตสาหกรรม ธุรกิจ ตลาด สภาวะแวดล้อมและลูกค้า โดยมีการวิเคราะห์เพื่อกำหนดตำแหน่งการแข่งขัน (Benchmark) ในแต่ละสาขาสำหรับอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (Biobased Industry) เป็นอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนการพัฒนาสามเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน ทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) หรือ “BCG Economy” ซึ่งเป็นกลยุทธที่กระทรวงอุดมฯ ได้นำเสนอไว้เป็นรูปแบบการพัฒนาที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงและยั่งยืน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ต่อยอดเกษตรกรรม นำผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงของเหลือทิ้ง ในกระบวนการผลิตหรือการบริโภคไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีทั้งเชื้อเพลิง ชีวเคมีภัณฑ์ วัสดุชีวภาพ หรือสารประกอบที่ให้คุณสมบัติพิเศษเพื่อนาไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารเสริมสุขภาพ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ทางด้านเภสัชภัณฑ์ การแพทย์ และสุขภาพ ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรได้ไม่น้อยกว่า ๑ เท่าตัว หรืออาจมากถึง ๒๐ เท่าตัว หัวข้อจากที่ประชุมนี้ได้กล่าวถึงสถานภาพและความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ โดย คุณวัชรินทร์ มีรอด, สถานภาพและทิศทางงานวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ โดย รศ.ดร.ปกรณ์ โอภาประกาสิต, สถานภาพและทิศทางงานวิจัยด้าน Biorefinery โดย ศ.ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย และ ความคืบหน้าโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือ โรงงานต้นแบบ (Pilot plant non GMP and GMP plants) ต่อยอดงานวิจัยสู่การผลิตในอุตสาหกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวก ในโครงการ EECi โดย ดร. เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ จาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
แผนที่ดังกล่าวนี้นอกจากภาครัฐแล้ว ต้องอาศัยความร่วมมือของ สถาบันวิจัย องค์กรต่างๆ และภาคเอกชน ร่วมให้ข้อมูล โอกาสความสำเร็จของการวิเคราะห์จัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยีรวมไปถึงระบบสนับสนุนที่ทันกับสถานการณ์ เพื่อกำหนดนโยบาย (POLICY DEPLOYMENT) เป็นสิ่งจำเป็น ความสามารถของการวิจัยและพัฒนาเป็นตัวการกำหนดระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ …..และการวางแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านธุรกิจที่ต้องการมีรากฐานจากผู้บริหารองค์กรให้ความสำคัญและร่วมผลักดัน