สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย ขอนำเสนอ ข้อมูลความรู้ใน ThaiBIO Knowledge Sharing 3/2563 จากเสวนาเรื่อง… Investment opportunities of Medical Industry and Future Trend of Biopharma business in Thailand from COVID-19 Pandemic… ในงาน Thailand Lab international and BIO Asia Pacific 2020
จากที่เสนอตอนที่ 1 ไปก่อนหน้านี้เป็นประสบการณ์จากภาคเอกชน…ซึ่งถ้ามองการสร้างเศรษฐกิจไทยเป็นการเล่นฟุตบอล เอกชนจะถูกเทียบเป็นกองหน้า และในตอนที่ 2 นี้ เสนอช่วงการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ สมาคมฯ ได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 หน่วยงาน คือ EECi ที่เป็นหน่วยงานต้นน้ำหรือเทียบเท่ากองหลัง BOI เป็นกองกลางตัวรับ และ ThaiFDA ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอขวดคอยสกัดกั้นฝ่ายเดียวกัน (ฮา) แต่วันนี้ อย. บอกว่าเขาเป็นประตู ….
เริ่มจากหน่วยงานแรก EECi ได้รับเกียรติจาก ดร. รวีภัทร์ ผุดผ่อง ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมืออุตสาหกรรมสมัยใหม่ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) EECi เป็นโครงการสร้างเขตนวัตกรรมเพื่อพัฒนาต่อยอดงานวิจัยไปสู่อุตสาหกรรม ซึ่งแผนการจัดการและจัดการดำเนินการโดยสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ที่เป็นแหล่งรวมคนระดับหัวกะทิของประเทศมาทำงาน โดยใน EECi สวทช.ได้มีแผนสร้างเมืองสนับสนุนอุตสาหกรรมไว้ 4 เมือง (รายละเอียดติดตามจากThaiBIO KS2/2562:… https://www.facebook.com/1666001887053568/posts/2411632315823851/?d=n) แต่ที่จะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์ มากที่สุดจะเป็น Biopolis …ที่เรียกว่าเมืองเนื่องจากนี้นอกจากจะมี Biotecnology infrastructures ที่จะสร้างไว้สำหรับงานพัฒนางานวิจัยสู่อุตสาหกรรม เช่น pilot plants ทั้ง GMP และ non-GMP facilities, Plant Factory, Technology sandbox ฯลฯ แล้ว สวทช. ยังประสานหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาอยู่ในเขตนวัตกรรมนี้ด้วย ตัวอย่างเช่น ศูนย์วิจัยแสงซินโครตรอน, National Quality Institutes, หน่วยงานวิจัยของรัฐและเครือข่ายวิจัยมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงเปิดพื้นที่ให้เอกชนที่สนใจไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ, ธนาคาร, investors, incubator ทั้งไทยและเทศเข้ามาเช่าพื้นที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการวิจัย และกิจการที่สนับสนุนตลอด value chain…. รวมถึงการสร้างที่อยู่อาศัย โรงเรียน,โรงแรม, โรงพยาบาล และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับบุคคลากรที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ นอกจาก solid structure แล้ว soft side เช่น แผนที่นำทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITRM), แผนบริหารจัดการ ก็ถูกศึกษาเพื่อวางแผนสำหรับการบริหารจัดการเมืองนวัตกรรมนี้ด้วย เรียกว่าเมือง Biopolis นี้จะครบวงจรสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการงาน RD เพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจแห่งอนาคตนี้ได้เลย
หน่วยงานที่สอง BOI เราได้รับเกียรติจาก คุณ สุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุน 1 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยชีวภาพ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ BOI ให้การส่งเสริม และเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญด้วย วิทยากรได้นำเสนอข้อมูล ภารกิจ BOI ว่ามีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน การประสานงานแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับด้านการลงทุนในประเทศไทย และที่สำคัญคือ การให้สิทธิประโยชน์ที่ช่วยให้นักลงทุนได้ลดต้นทุนการดำเนินการในประเทศไทย ให้มีกำไรและคืนทุนได้เร็วขึ้น ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ว่าได้แก่ การยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร การยกเว้นอากรสำหรับวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออก และการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การให้สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ก่อนนั้น หลายคนจะคุ้นเคยกับการให้สิทธิประโยชน์ตามพื้นที่ที่ตั้งโรงงานหรือสถานประกอบการหรือที่เรียกว่า “BOI Zoning” แล้ว แต่ปัจจุบัน BOI จะให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมากน้อยขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีหรือกรรมวิธีการผลิต หรือที่เรียกว่า “Product-Based Incentives” แต่หากมีการตั้งสถานประกอบการอยู่ในพื้นที่พิเศษที่รัฐบาลกำหนด เช่น พื้นที่ EEC/EECi ก็อาจจะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม..สำหรับอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายและเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญเป็นพิเศษต่อประเทศไทยนั้น การให้สิทธิและประโยชน์ของ BOI จึงให้สูงกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกหลายประเภทกิจการ โดยสิทธิประโยชน์พื้นฐานของกลุ่มกิจการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การผลิตยาชีววัตถุหรือวัคซีน จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินนิติบุคคลได้เป็นเวลา 8 ปี ไม่จำกัดวงเงิน ทุกที่ตั้ง และหากมีความร่วมมือหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับสถาบันการศึกษาในประเทศ ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นเป็น 10 ปี หรืออาจจจะได้สูงสุดถึง 13 ปี หากตั้งในพื้นที่พิเศษหรือมีการทำวิจัยและพัฒนาในโครงการเพิ่มเติม… นอกจากการให้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนแล้ว บีโอไอยังมีสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับกฎหมายส่งเสริมการลงทุน แต่ยังมีกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่ BOI จะสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการด้วย หากมีการดำเนินการด้านวิจัยพัฒนา การขึ้นทะเบียนสิทธิบัตร หรือแม้แต่การซื้อทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property : IP) ที่สามารถนำผลงานวิจัยไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ นอกจากสิทธิประโยชน์ด้านภาษีแล้ว บีโอไอยังสามารถช่วยดำเนินความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ ด้านการอนุมัติให้ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศทำงานและพำนักอยู่ในประเทศไทย ได้สะดวกและง่ายกว่าช่องทางปกติ หรือแม้แต่การอนุญาตให้ต่างชาติสามารถซื้อและถือกรรมสิทธิที่ดินในโครงการที่ประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมได้อีกด้วย……. จากที่วิทยากรได้นำเสนอ จะเห็นว่า ภาครัฐโดย BOI เป็นหน่วยงานที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทุน รวมทั้งเป็นหน่วยงานที่ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน โดยการยกเว้นภาษีต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจมีต้นทุนที่ต่ำลงและช่วยคืนทุนให้เร็วขึ้น รวมทั้งมีเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนงานด้านวิจัยต่างๆ อีกด้วย
และหน่วยงานสุดท้ายสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ไม่ใช่ขั้นตอนท้ายสุดของอุตสาหกรรมการแพทย์ นักลงทุนควรศึกษาหาข้อมูลก่อนเป็นผู้ผลิตยา เราได้รับเกียรติจาก ภก.วิทวัส วิริยะบัญชา ผู้แทนกองยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่กล่าวถึงหน้าที่หลักของ อย. คือการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นสำคัญ โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย อย. จะต้องผ่านการพิจารณาหลักเกณฑ์ทุกด้านทั้ง คุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิผล (quality, safety and efficacy) เพื่อนำมาใช้ในการประเมินประโยชน์และความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ยา ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลักใหญ่ ดังนั้นการควบคุมดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานและความปลอดภัยจึงต้องมีความเข้มข้น…ด้วยเหตุนี้หน่วยงานจึงมักตกเป็นจำเลยในฐานะคอขวดที่ขัดขวางการพัฒนาอุตสาหกรรมอยู่เสมอ ซึ่งวันนี้วิทยากรได้มาเล่าให้ฟังถึงการเป็น “ประตู” ที่หมายถึงประตูที่ผู้ประกอบการสามารถผ่านไปได้เมื่อไขลูกกุญแจถูกดอก ผ่านขั้นตอนการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาที่ถูกต้อง และนำเอกสารหลักฐานดังกล่าวมาใช้ประกอบการขึ้นทะเบียนตำรับยา ในปัจจุบันนี้ อย. ทำงานในรูปแบบใหม่ที่นำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ (Regulatory science) มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่น (Regulatory flexibility) เป้าหมายเพื่อให้เกิดการส่งเสริมการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาของประชาชน และผู้ป่วย รวมถึงเพื่อเป็นการแก้ไขสถานการณ์ทางด้านระบบสาธารณสุขต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เช่น การอนุญาติให้ submit เอกสารผลความก้าวหน้าของการทดสอบยาหรือวัคซีนที่สำเร็จแต่ละขั้นไม่ต้องรอให้เสร็จทุกขั้นตอนทั้งหมดก่อน นวัตกรรมการทำงานเช่นนี้ส่งผลให้การขึ้นทะเบียนยาใหม่ทำได้สะดวกรวดเร็วขึ้น และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในกรณีฉุกเฉินที่ต้องการยาหรือวัคซีนอย่างเร่งด่วน เข่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID 19 ในปัจจุบัน…นอกจากนี้ อย. ยังปรับหน่วยงานให้มีลักษณะเป็น facilitator สำหรับส่งเสริมขีดความสามารถของผู้ผลิตยาให้ได้มาตรฐาน ผ่านช่องทาง Scientific advisory ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ หลักเกณฑ์ และมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ยาที่ อย. กำหนด และเพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่าง อย. กับผู้ประกอบการ ผู้ผลิตทุกราย…รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างอาจารย์ นักวิจัยนักวิชาการ และเอกชนรุ่นพี่ด้วย
สำหรับสิ่งที่เอกชนอยากเห็นเพิ่มเติม คือ ความต่อเนื่องของนโยบายของรัฐบาลที่มักมาเป็นวาระ, การทำงานบูรณาการร่วมกันของภาครัฐในหน่วยงานเดียวกัน หรือการทำข้ามหน่วยงาน ให้ทำงานประสานกัน ยกตัวอย่าง อาจมีโครงการร่วมกับกระทรวงพานิชย์ หรือกระทรวงการต่างประเทศซึ่งมีสำนักงานในทุกประเทศเปิดเป็นหน้าร้านด้วยนอกจากเป็นประตูบ้าน เพื่อเพิ่มตลาดของสินค้าหา การเพิ่ม Volume เท่ากับลดต้นทุน, เรื่องการทำ soft loan เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีการลงทุนขนาดใหญ่และใช้เวลานาน ที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เมื่อลงทุนในไทยแล้วจะมีการจ้างแรงงาน มีสินค้าเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานส่งออกได้ และสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจไทยได้ เพราะ innovation product จะมีมูลค่ากว่า V2 และ ยิ่งมีเทคโนโลยีขั้นสูงจะเลียนแบบได้ยาก และคุ้มค่าต่อการจดสิทธิบัตร
ข้อสรุปสุดท้ายสำหรับการเสวนาระหว่างเอกชนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพการแพทย์ไทยรุ่นบุกเบิก และเอกชนรุ่นใหม่ open innovation ที่พลังงานเปี่ยมล้น กับฝ่ายสนับสนุนจากภาครัฐ ที่ได้ผ่านร้อนหนาวกันมามากมาย ผ่านมาเจอกันก็มี discussions กัน เห็นตรงกันบ้าง..ต่างกันบ้าง..มาจนถึงวันนี้….”การได้ร่วมฟังและพูดคุยกันอย่างสร้างสรรค์ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศ…..ผ่านการสร้างอุตสาหกรรมเป้าหมายให้สำเร็จเพื่อให้ประเทศไทยหลุดจากกับดักรายได้ปานกลางม….ทำให้เราได้ยินเสียงของทุกคนชัดขึ้น .เข้าใจกันมากขึ้น”
สร้างความเป็นทีมไทยแลนด์…….ตามนโยบายรวมไทยสร้างชาติ……จะทำให้ทุกฝ่ายมีใจที่จะผ่านอุปสรรคที่เป็นความท้าทายที่เข้ามา…ให้ได้ร่วมกันทำงานเพื่อประเทศต่อไป…
สมาคมขอขอบพระคุณวิทยากรทุกท่าน, ผู้ดำเนินรายการ ดร.พัชราภรณ์ วงษา และทีมงานผู้มีล่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมครั้งนี้ทั้งจาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) และสมาคม ThaiBIO ในการร่วมมือร่วมใจ จนประสบผลสำเร็จได้ ขอบคุณ บริษัท VNU สมาชิกที่น่ารักของสมาคมฯ อุปถัมป์ห้องจัดประชุม