วันที่ 16 กุมภาพันธุ์ 2567
ดร.วสันต์ อริยพุทรัตน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO Association) รับเป็นวิทยากรแชร์ประสบการณ์หัวข้อ “Navigating the Complexity of Biotechnology Licensing” ในงาน LES Thailand “Cutting-Edge Strategies for Global IP Licensing – Supporting Global Trends in IP”“
งานนี้เป็นงานประชุมวิชาการของสมาคมกฏหมายระหว่างประเทศของ Licensing Executive Society International (LES I)โดยในปีนี้สมาคมการบริหารการอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ประเทศไทย) – Licensing Executives Society (Thailand) เป็นเจ้าภาพ
สมาคมฯ นำภาพบรรยากาศ และประเด็นน่าสนใจจากการแชร์ประสบการณ์การบริหารทรัพย์สินทางปัญญา (IP management) ในอุตสาหกรรมไบโอเทคของท่านนายกสมาคมฯ มาแบ่งปัน
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิ่งที่สำคัญในการเพิ่มมูลค่า รักษาผลประโยชน์และป้องกันการละเมิดสิทธิ์ในสิ่งประดิษฐ์หรือสินค้าที่มีเทคโนโลยีที่เราเป็นผู้คิดค้น โดยดร.วสันต์ แบ่งให้เห็นคุณค่าของสินค้าให้เห็นเป็น 2 ฝั่ง Scientific value และ Artistic value
ขณะที่ทรัพย์สินทางปัญญามีหลายแบบ เช่น สิทธิบัตร, อนุสิทธิบัตร, เครื่องหมายการค้า, ความลับทางการค้า, และอื่นๆ โดยสินค้าเทคโนโลยีหนึ่งๆ อาจมีการเข้าไปเกี่ยวข้องกับกลไกในระบบทรัพย์สินทางปัญญาหลายกลไกและไม่ใช่ทุกสินค้าที่สามารถขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตรได้ การพิจารณาเพื่อใช้กลไกแบบไหนที่เหมาะสมกับธุรกิจของเรานั้นเป็นสิ่งสำคัญ ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของธุรกิจ ข้อมูลและกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศที่ทำธุรกิจ
การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในมุมของ คีนน์ โดยทั่วไปมี 4 เรื่อง คือ การได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญา (Creation) การประเมิณคุณค่าและการพัฒนา (Evaluation) การติดตามและการบังคับใช้สิทธิ (Protection) การใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงธุรกิจ (Exploitation)
โดยที่การใช้งานคุ้มครองจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาหากผลสุดท้ายแผนการจัดการ IP ไม่ตอบโจทย์การใช้งานการเพิ่มมูลค่าและป้องกันตลาดให้วางแผนปรับกลยุทธ์หรือวิธีการจัดการใหม่โดยอาจจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยในการวิเคราะห์และปรับแผนเพื่อให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด
https://www.facebook.com/photo?fbid=789714263191699&set=pcb.789716046524854